บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า

บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า
คำถาม  ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน
คำตอบ โรงเรียนหานโพธิ์พิทยาคม ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านห้วยแตน  หมู่ที่ ๒ ตำบลหานโพธิ์  อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง  มีเนื้อที่ดินราชพัสดุ  เนื้อที่ ๗๘  ไร่ ๖๖ ตารางวา  ที่ดินขณะนั้นเป็นป่าที่ชาวบ้านใช้เลี้ยงสัตว์ ทำการเกษตร หาของป่า ต่อมาโรงเรียนเขาชัยสนเปิดสอนโปรแกรมวิชาเกษตรกรรม และไม่มีอาคารที่ใช้จัดการเรียนการสอน
จึงได้มีแนวทาง ที่จะใช้พื้นที่ป่าบริเวณบ้านโคกโหนด เป็นที่เรียนวิชาโปรแกรมเกษตรกรรม จึงได้เริ่มสร้างอาคารเรียนชั่วคราว โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ และเรือนเพาะชำ ด้วยความร่วมมือของผู้นำท้องถิ่น ชาวบ้าน คณะครูที่มาสอน และนักเรียน จำนวน ๒๐ คน
                        ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ในโอกาสที่กรมสามัญศึกษามีอายุครบ ๑๐๐ ปี จึงได้รับการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบล ชื่อ โรงเรียนหานโพธิ์พิทยาคมโดยมอบหมายให้ นายจบ  แก้วทิพย์  เป็นครูใหญ่


คำถาม  ปรัชญาประจำโรงเรียน คติประจำโรงเรียน วิสัยทัศน์  จุดมุ่งหมาย เป้าหมายการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
คำตอบ  ปรัชญาประจำโรงเรียน
                        ขันติ  สุขาวหา หมายถึง ความอดทนนำมาซึ่งประโยชน์สุข
คติประจำโรงเรียน
                        ความรู้ดี  ทักษะเยี่ยม เปี่ยมคุณธรรม  นำชุมชน
วิสัยทัศน์
                        ภายในปี ๒๕๕๔โรงเรียนหานโพธิ์พิทยาคม จะเป็นโรงเรียนดีใกล้บ้าน ที่จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณธรรมนำความรู้ ด้วยกระบวนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ รักษ์ความเป็นไทย และท้องถิ่น
จุดมุ่งหมาย
                        มีการบริหารการจัดการอย่างเป็นระบบ ครูมีจรรยาบรรณ และมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ผู้เรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับดี สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย และดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
เป้าหมายการจัดการศึกษา
๑. นักเรียนมีคุณธรรม  จริยธรรม  ร้อยละ  ๙๐
๒. การจัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์  สวยงาม ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก
๓. นักเรียนมีทักษะในการทำงานและมีเจตคติที่ดี ต่ออาชีพสุจริต  ร้อยละ๘๕
๔. นักเรียนสามารถอ่าน  คิด  วิเคราะห์ และสื่อความหมายได้ร้อยละ  ๗๐
๕. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามหลักสูตรผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับดี และดีมาก ร้อยละ ๗๐
๖. นักเรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  ร้อยละ  ๘๕
๗. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายดี  ร้อยละ  ๘๐
๘. นักเรียนมีความสามารถด้านกีฬาได้รับรางวัลในการแข่งขัน  ร้อยละ  ๘๐  ของนักเรียนที่เข้าร่วมแข่งขัน
๙. นักเรียนมีความสามารถด้านศิลปะ  ดนตรี  และการแสดงบนเวที  ร้อยละ ๘๐  ของนักเรียนทั้งหมด
๑๐. ครูได้รับการพัฒนา  ตามเกณฑ์  ร้อยละ  ๑๐๐
๑๑. ครูจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  มีแผนการสอน  ร้อยละ๙๐๑๒. การบริหารจัดการโรงเรียน มีองค์ประกอบของโรงเรียนดี มีคุณภาพครบ  ร้อยละ ๙๐
๑๓. ระบบการประกันคุณภาพของโรงเรียนมีประสิทธิภาพ ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก
๑๔. โรงเรียนบริหารจัดการโดยการใช้โรงเรียนเป็นฐาน  ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก
๑๕. จัดทำและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก
๑๖. คุณภาพผู้เรียน  เก่ง  ดี อยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก
๑๗. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลการประเมินการใช้แหล่งรู้อยู่ในระดับ ดีมาก
๑๘.  การประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน รูปแบบต่าง ๆ ผลการประเมินอยู่ในระดับ  ดีมาก
๑๙.  ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล ผลประสบความสำเร็จ อยู่ในระดับ ดีมาก
๒๐. ครูมีสื่อ เอกสาร นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ร้อยละ๘๐ ของครูทั้งหมด


คำถาม  ชุมชนมีบทบาทอย่างไรกับโรงเรียน
คำตอบ  คนในชุมชนให้ความร่วมมือช่วยเหลือในทุกด้าน ในกรณีที่ทางโรงเรียนต้องการความช่วยเหลือ เช่น  การช่วยเป็นบุคลากรในการจัดการสอนกิจกรรม หรือสาระวิชาเพิ่มเติม ซึ่งในแต่ละภาคเรียนจะมีบุคลากรในท้องถิ่น ภาคเรียนละ 2 ท่านที่ให้ความรู้แก่นักเรียน ในสาขาวิชาต่างๆ เช่น การทำเครื่องจักรสานไม้ไผ่ การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลา การทำแปลงเกษตร เป็นต้น
            ซึ่งท้องถิ่นจะมีส่วนในการพัฒนาหลักสูตรเป็นอย่างมาก กล่าวคือ  วิชาที่ทางโรงเรียนเสริมแทรกวิชาดังกล่าวให้แก่นักเรียน เป็นสิ่งที่คนในชุมชนยึดถือเป็นอาชีพ ซึ่งนักเรียนสามารถสานต่ออาชีพในชุมชน และยังสามารถพัฒนาอาชีพเหล่านั้นได้ ตามศักยภาพ
คำถาม  กระบวนการ อุปสรรค การแก้ไขปัญหาของการพัฒนาหลักสูตร
คำตอบ โรงเรียนได้สมัครเป็นโรงเรียนแกนนำในการใช้หลักสูตร แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ ในครั้งนั้นมีการอบรมครูจำนวน 2 ครั้ง คือ ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ และการเข้าอบรมเรื่องการวัดผล และการประเมินผลหลักสูตร


คำถาม ปัญหาและอุปสรรค
คำตอบ ปัญหาและอุปสรรค
                        งานธุรการในชั้นเรียนไม่มีความพร้อม เนื่องจากต้องรอรับเอกสารจากส่วนกลาง
วิธีการแก้ปัญหา  คือ ทางโรงเรียนจัดทำเอกสารที่จัดทำได้ก่อน แล้วค่อยถ่ายโอนเอกสารต่างๆเข้าสู่ฝ่ายวิชาการ การเช็ครายชื่อนักเรียน


คำถาม รายวิชาเพิ่มเติม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และจุดเน้นที่จัด
คำตอบ รายวิชาเพิ่มเติม เน้นรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เช่น งานโลหะ คอมพิวเตอร์ งานใบตองเป็นต้น
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมี 15 กิจกรรม (กิจกรรมชุมนุม)
จุดเน้นที่จัดรายวิชาเพิ่มเติม
                        คือ เพื่อให้ผู้เรียน ได้เลือกเรียนตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียน โดยเน้นครูที่จบสาย การอาชีพและเทคโนโลยีมาประยุกต์เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนในสายนั้นๆ


คำถาม  โรงเรียนจัดกิจกรรมหรือโครงการที่ส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียน
คำตอบ  โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
                        ใช้หลักการดำรงชีพโดยการพึ่งตนเอง  ประหยัดอดออม ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ หารายได้เข้าครอบครัวโดยการประกอบอาชีพสุจริต  พึ่งพาอาศัยกัน ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทำให้ชีวิตมีความสุขและทำให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า  โรงเรียนจึงดำเนินการโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้สถานศึกษาและบุคลากรในสถานศึกษาสามารถนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตและเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งสามารถเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจ
โครงการพัฒนากรีฑา สู่ความเป็นเลิศ
                        นักเรียนโรงเรียนหานโพธิ์พิทยาคม มีทักษะ ทางด้านกรีฑา มานาน ซึ่งจากสถิติการแข่งขันในอดีต รายการต่างๆ ตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนมา มีนักกรีฑาของโรงเรียนได้รับรางวัล และเป็นตัวแทนของจังหวัดพัทลุง มาอย่างต่อเนื่อง
โครงการพัฒนาผู้เรียนด้านทักษะการงานอาชีพ และความเป็นเลิศทางวิชาการ
                        โรงเรียนได้จัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย  อารมณ์  สังคมและจิตใจ  ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ  พร้อมทั้งเปิดสอนวิชาการงานอาชีพ ซึ่งเป็นวิชาพื้นฐาน และ สาระเพิ่มเติม ให้นักเรียนเลือกตามความสนใจทุกระดับชั้น โดยมีครูที่จบมาตรงสาขาทำการจัดการเรียนการสอน และใช้วิทยากรจากภายนอกมาสอน
โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
            โรงเรียนหานโพธิ์พิทยาคมได้ รับมอบหมายให้เป็นโรงเรียนแกนนำ โรงเรียนวิถีพุทธ ซึ่งในหลักการให้ดำเนินการเรียนการสอน และการบริหารจัดการที่เน้น เรื่องคุณธรรมนำความรู้ ให้แก่นักเรียน
โครงการส่งเสริมการอ่าน
                        ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่  ๒) ได้
                        กำหนดจุดมุ่งหมายและหลักการการจัดการศึกษาว่าต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ อารมณ์  สังคมและสติปัญญา  มีความรู้คู่คุณธรรมในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  เพื่อเตรียมคนให้มีลักษณะมองไกลในข่าวสารและมีความรู้อย่างต่อเนื่อง  โรงเรียนหานโพธิ์พิทยาคมจึงจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมนักเรียน
โครงการส่งเสริมประชาธิปไตย
                        ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยต้องเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีสติปัญญา  ความรู้  คุณธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต  สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขด้วยวิถีแห่งประชาธิปไตย
                        โรงเรียนหานโพธิ์พิทยาคมจึงจัดกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
โครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
                        การจัดการศึกษาในโรงเรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ควบคู่คุณธรรม  เป็นคนดี คนเก่ง
                        และมีความสุข  โรงเรียนจึงต้องจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมตามมาตรฐานของหลักสูตร และปัจจุบันนี้นักเรียนยังต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้เกิดคุณลักษณะที่ดี  มีวินัย ปลอดยาเสพติด  มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และเข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตย


คำถาม นโยบายในการนำหลักสูตรไปใช้
คำตอบ  ทางโรงเรียนดำเนินการตามหลักสูตรแกนกลาง โดยปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ ควบคู่ไปกับคุณธรรม ให้กับนักเรียน มุ่งพัฒนาไม่ให้นักเรียนมีผลการเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ จะมีการสอบวัดผลจนผ่านการประเมินทุกคน


คำถาม มีการประเมินผลหลักสูตรอย่างไร
คำตอบ ทางโรงเรียนมีการประเมินผลหลักสูตร โดยการดูจากผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
และประเมินจากคณะกรรมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ผลจากการประเมินหลักสูตรเป็นอย่างไรทางโรงเรียนจะมีการปรับเปลี่ยนทุกปี